The website uses cookies (Cookies) to manage personal information and help increase website usage efficiency. You can learn more details and cookie settings at Cookie Policy

Privacy and policy
Privacy and policy

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ และผลกระทบ

องค์ประกอบของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย การรับสัมผัสกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Exposure) และความอ่อนไหวต่อผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Sensitivity) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำยัง (Potential impacts) และผลกระทบดังกล่าว เมื่อผนวกกับความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptive capacity) จะได้ผลลัพธ์ของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Vulnerability) และสำหรับประชาชนในลุ่มน้ำยัง การรับสัมผัสกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Exposure) ประกอบด้วยปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ปริมาณน้ำฝน การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย

สำหรับความอ่อนไหวต่อผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Sensitivity) ประกอบด้วยความยากจน รายได้ต่อครัวเรือน และความหนาแน่นประชากร ซึ่งเมื่อผนวกกันจะพบว่าประชาชนในลุ่มน้ำยังตอนล่างได้รับผลกระทบสูงสุด ทั้งในด้าน exposure และ sensitivity และเมื่อพิจารณาความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptive capacity) ของประชาชนในลุ่มน้ำยัง ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการสร้างผลผลิตทางการเกษตร (crop yields) การเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (water access) การเข้าถึงตลาด (market access) และการเข้าถึงบริการสาธารณสุข (health services access) พบว่า ขีดความสามารถในการปรับตัวของประชาชนในลุ่มน้ำยังมีไม่เพียงพอต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางสูง และจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการการปรับตัวภายใต้โครงการ EbA

การตกลงระหว่าง UNEP - DWR

องค์ประกอบของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย การรับสัมผัสกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Exposure) และความอ่อนไหวต่อผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Sensitivity) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำยัง (Potential impacts) และผลกระทบดังกล่าว เมื่อผนวกกับความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptive capacity) จะได้ผลลัพธ์ของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Vulnerability) และสำหรับประชาชนในลุ่มน้ำยัง การรับสัมผัสกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Exposure) ประกอบด้วยปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ปริมาณน้ำฝน การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย

สำหรับความอ่อนไหวต่อผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Sensitivity) ประกอบด้วยความยากจน รายได้ต่อครัวเรือน และความหนาแน่นประชากร ซึ่งเมื่อผนวกกันจะพบว่าประชาชนในลุ่มน้ำยังตอนล่างได้รับผลกระทบสูงสุด ทั้งในด้าน exposure และ sensitivity และเมื่อพิจารณาความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptive capacity) ของประชาชนในลุ่มน้ำยัง ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการสร้างผลผลิตทางการเกษตร (crop yields) การเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (water access) การเข้าถึงตลาด (market access) และการเข้าถึงบริการสาธารณสุข (health services access) พบว่า ขีดความสามารถในการปรับตัวของประชาชนในลุ่มน้ำยังมีไม่เพียงพอต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางสูง และจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการการปรับตัวภายใต้โครงการ EbA