วัตถุประสงค์
ในระยะปีที่ 1 โครงการกำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้
- ศึกษา พัฒนาและจัดทำแนวทางการดำเนินงานด้านการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA Implementation Protocol) และแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Management Plan) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พร้อมนำไปจัดทำแผนงานสำหรับการดำเนินงานโครงการย่อยและกิจกรรมสู่การปฏิบัติในพื้นที่สาธิตลุ่มน้ำยัง ในระยะถัดไป
- เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของแนวทางการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศ ให้แก่ชุมชนและประชาชน ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรม และกิจกรรมการเสวนาและแลกเปลี่ยน ในพื้นที่สาธิตลุ่มน้ำยัง ประเทศไทย เพื่อพร้อมในการดำเนินงานในระยะถัดไป
- สนับสนุนกรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะหน่วยงานระดับประเทศ คณะกรรมการและคณะทำงาน ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานสนับสนุน Project Management Unit (PMU) ในการบริหารและกำกับโครงการ การรายงาน การสื่อสาร การประสานงาน การติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและความสำเร็จของแผนงาน การบริหารการเงิน ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อตกลงความร่วมมือกับองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ รวมถึงการจัดทำร่างแผนงานและการดำเนินงานโครงการฯ ในระยะต่อไป
ความสอดคล้อง นโยบาย / แผนแม่บทน้ำ แผนชาติ SDGs etc.
โครงสร้างการบริหารโครงการ (รอสรุปข้อมูล)
ความคาดหวังในการนำ EbA มาใช้ในประเทศไทย
โครงการดำเนินงานตามแผนงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่สาธิตลุ่มน้ำยัง รวมถึงชุมชนและประชาชนในพื้นที่ สามารถนำความรู้ ความเข้าใจของแนวทางการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรม และกิจกรรมการเสวนาและแลกเปลี่ยน มาปรับใช้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานโครงการในพื้นที่สาธิตลุ่มน้ำยัง ประเทศไทยในระยะถัดไป
ความสอดคล้องนโยบาย/แผนแม่บทน้ำ แผนชาติ SDGs etc.
แนวทางการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ ที่ใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการของระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนชุมชนในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการอนุรักษ์ การจัดการ และการฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อความยั่งยืน มีความสอดคล้องกับประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเป้าหมายที่ 3 “แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพให้มีระบบนิเวศที่ดี” ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาการจัดทำแผนการจัดการน้ำ การอนุรักษ์ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และแผนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในระยะยาวและเพิ่มความมั่นคงทางด้านน้ำให้กับประเทศ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
- เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 5: บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน
- เป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน
- เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 12: สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 13: ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
- เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ



