The website uses cookies (Cookies) to manage personal information and help increase website usage efficiency. You can learn more details and cookie settings at Cookie Policy

About Us
Program

วัตถุประสงค์

ในระยะปีที่ 1 โครงการกำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. ศึกษา พัฒนาและจัดทำแนวทางการดำเนินงานด้านการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA Implementation Protocol) และแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Management Plan) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พร้อมนำไปจัดทำแผนงานสำหรับการดำเนินงานโครงการย่อยและกิจกรรมสู่การปฏิบัติในพื้นที่สาธิตลุ่มน้ำยัง ในระยะถัดไป
  2. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของแนวทางการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศ ให้แก่ชุมชนและประชาชน ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรม และกิจกรรมการเสวนาและแลกเปลี่ยน ในพื้นที่สาธิตลุ่มน้ำยัง ประเทศไทย เพื่อพร้อมในการดำเนินงานในระยะถัดไป
  3. สนับสนุนกรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะหน่วยงานระดับประเทศ คณะกรรมการและคณะทำงาน ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานสนับสนุน Project Management Unit (PMU) ในการบริหารและกำกับโครงการ 
การรายงาน การสื่อสาร การประสานงาน การติดตามประเมินผลความก้าวหน้าและความสำเร็จของแผนงาน 
การบริหารการเงิน ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อตกลงความร่วมมือกับองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ รวมถึงการจัดทำร่างแผนงานและการดำเนินงานโครงการฯ ในระยะต่อไป

ความสอดคล้อง นโยบาย / แผนแม่บทน้ำ แผนชาติ SDGs etc.

โครงสร้างการบริหารโครงการ (รอสรุปข้อมูล)

ความคาดหวังในการนำ EbA มาใช้ในประเทศไทย

โครงการดำเนินงานตามแผนงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่สาธิตลุ่มน้ำยัง รวมถึงชุมชนและประชาชนในพื้นที่ สามารถนำความรู้ ความเข้าใจของแนวทางการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรม และกิจกรรมการเสวนาและแลกเปลี่ยน มาปรับใช้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานโครงการในพื้นที่สาธิตลุ่มน้ำยัง ประเทศไทยในระยะถัดไป

ความสอดคล้องนโยบาย/แผนแม่บทน้ำ แผนชาติ SDGs etc.

แนวทางการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ ที่ใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการของระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนชุมชนในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการอนุรักษ์ การจัดการ และการฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อความยั่งยืน มีความสอดคล้องกับประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเป้าหมายที่ 3 “แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพให้มีระบบนิเวศที่ดี” ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาการจัดทำแผนการจัดการน้ำ การอนุรักษ์ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และแผนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในระยะยาวและเพิ่มความมั่นคงทางด้านน้ำให้กับประเทศ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ

  • เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 5: บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน
  • เป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน
  • เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 12: สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 13: ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
  • เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

0
Today
0
This Week
0
This Month
0
Total