The website uses cookies (Cookies) to manage personal information and help increase website usage efficiency. You can learn more details and cookie settings at Cookie Policy

About Us
History

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ และผลกระทบ

องค์ประกอบของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย การรับสัมผัสกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Exposure) และความอ่อนไหวต่อผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Sensitivity) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำยัง (Potential impacts) และผลกระทบดังกล่าว เมื่อผนวกกับความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptive capacity) จะได้ผลลัพธ์ของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Vulnerability) และสำหรับประชาชนในลุ่มน้ำยัง การรับสัมผัสกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Exposure) ประกอบด้วยปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ปริมาณน้ำฝน การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย

สำหรับความอ่อนไหวต่อผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Sensitivity) ประกอบด้วยความยากจน รายได้ต่อครัวเรือน และความหนาแน่นประชากร ซึ่งเมื่อผนวกกันจะพบว่าประชาชนในลุ่มน้ำยังตอนล่างได้รับผลกระทบสูงสุด ทั้งในด้าน exposure และ sensitivity และเมื่อพิจารณาความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptive capacity) ของประชาชนในลุ่มน้ำยัง ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการสร้างผลผลิตทางการเกษตร (crop yields) การเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (water access) การเข้าถึงตลาด (market access) และการเข้าถึงบริการสาธารณสุข (health services access) พบว่า ขีดความสามารถในการปรับตัวของประชาชนในลุ่มน้ำยังมีไม่เพียงพอต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางสูง และจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการการปรับตัวภายใต้โครงการ EbA




การตกลงระหว่าง UNEP - DWR

ในปี พ.ศ. 2566 กรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดทำโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาศัยระบบนิเวศ ในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1 ภายใต้ข้อตกลง
ความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ กับโครงการสิ่งแวดล้อม
แห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) เพื่อดำเนินงานโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาใน
ลุ่มน้ำโขง (โครงการ Mekong EbA South) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุน เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation Fund: AF) โดยมี UNEP เป็นหน่วยดำเนินโครงการ (Implementing Entity) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำรูปแบบวิธีการปฏิบัติ สาธิตการใช้แนวทางการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Ecosystem-based Adaptation: EbA) ในชุมชนเปราะบางในประเทศไทยเพื่อจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะภัยแล้งและอุทกภัย เสริมสร้างความตระหนักรู้ การมีส่วนร่วม และเพิ่มพูนศักยภาพในการดำเนินการของภาครัฐและชุมชนในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศ โดยได้เลือกลุ่มน้ำยัง เป็นพื้นที่ศึกษานำร่องเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เปราะบางและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประสบปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำยังตอนบน ในเขตอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ และปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำยังตอนล่าง ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้ จะได้นำมาตรการและขั้นตอนการดำเนินการโดยใช้แนวทาง EbA ไปขยายผลให้เกิดในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อไป

0
Today
0
This Week
0
This Month
0
Total