ภารกิจ

สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

        (ก)  ประสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เทคนิควิชาการและบุคลากรกับต่างประเทศ

             และองค์การระหว่างประเทศ

        (ข)  ปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงและคณะกรรมการ

             ระหว่างประเทศของฝ่ายไทย

        (ค)  ถ่ายทอดประสบการณ์ เทคนิควิชาการจากเวทีการประชุมระหว่างประเทศมาเผยแพร่ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง

             ในกรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

        (ง)   ติดต่อประสานงาน เข้าร่วมเจรจา เตรียมการต่างๆ เกี่ยวกับโครงการความร่วมมือ โครงการเงินกู้และ

             โครงการความช่วยเหลือจากต่างประเทศของกรม

        (จ)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 แบ่งงานภายในออกเป็น ดังนี้   
  1. ส่วนอำนวยการ อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณทั่วไปของสำนัก

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัสดุ

(3) ดำเนินงานเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี

(4) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานด้านบุคลากร

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

  1. ส่วนวิเทศสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) เสนอความเห็น กำหนดท่าที นโยบาย และแผนงาน สำหรับการดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ

(2) ดำเนินการด้านสารัตถะและพิธีการสำหรับการประชุม และการเจรจาระหว่างประเทศ

(3) จัดทำหนังสือราชการ คำกล่าว สุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ สำหรับผู้บริหาร

(4) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการเดินทางไปราชการต่างประเทศ

(5) เผยแพร่องค์ความรู้จากต่างประเทศ ผ่านกลไกการประชุม ฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน สัมมนา และพัฒนาศูนย์กลางความรู้ออนไลน์

  1. ส่วนความร่วมมือทวิภาคีและพหุภาคี อำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) จัดทำข้อตกลง พันธกรณี ความร่วมมือระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตามยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

(2) ประสานงาน ดำเนินงาน และรายงานสถานภาพโครงการตามความร่วมมือระหว่างประเทศ ระดับทวิภาคีและพหุภาคี

(3) ศึกษา รวบรวม เผยแพร่และการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิชาการ องค์ความรู้ รวมถึงการสนับสนุนด้านการเงิน และจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ระดับทวิภาคีและพหุภาคี

  1. ส่วนแผนงานและประเมินผล หน้าที่และอำนาจดังนี้

(1) จัดทำแผนงาน แผนงบประมาณ และประเมินผล

(2) ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำกลยุทธ์และเป้าหมายของสำนักให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมและกระทรวง

(3) พัฒนาระบบการใช้เครื่องมือในการพัฒนาระบบบริหาร การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ควบคุมภายใน การจัดการความรู้ และการพัฒนาสมรรถนะของสำนัก

(4) ประสานงาน และดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอกสำนักในการติดตาม และรายงานผลงานและตัวชี้วัด