แผนขั้นพื้นฐานของระบบข้อมูลการบริหารจัดการอุทกภัยในประเทศไทย

 

             

           เหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งที่เป็นมูลค่าความเสียหายและค่าเสียโอกาสจากการเกิดอุทกภัยด้านการจัดการน้ำ การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ แหล่งศิลปวัฒนธรรม ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ความสูญเสียด้านสังคม บ้านเรือนประชาชนและความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม จากการประเมินของธนาคารโลกมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท และจัดให้เป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก จากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากเป็นประวัติการณ์ ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึงเดือน ตุลาคม 2554 ทำให้ประเทศไทยต้องประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในหลายพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งไม่ได้มีการคาดการณ์มาก่อนว่าจะกลายเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ทำให้เกิดความสูญเสีย หายแก่ประเทศเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งต่อมาในเดือน มกราคม 2555 ได้ประกาศใช้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สำหรับกรณีฉุกเฉินและแผนระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทนี้เพื่อ

  1. ป้องกันและลดความสูญเสีย และความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
  2. พัฒนาความสามารถของระบบป้องกันอุทกภัย การบริหารจัดการอุทกภัยในกรณีฉุกเฉิน และการเพิ่มความสามารถ ของระบบการเตือนภัย
  3. สร้างความเชื่อมั่นและเสถียรภาพ รวมทั้งเพิ่มรายได้เกษตรกร ชุมชน และรายได้ประชาชาติในขณะที่มีการบริหารจัดการน้ำ การจัดการพื้นที่ และการจัดการป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

แผนแม่บทประกอบด้วย 8 แผนงาน

  1. การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศน์
  2. การบริหารจัดการแหล่งเก็บกักน้ำหลัก และการกำหนดแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศรายปี
  3. การฟื้นฟูและพัฒนาประสิทธิภาพของสิ่งปลูกสร้างเดิม และการก่อสร้างใหม่ตามแผนที่กำหนดไว้
  4. คลังข้อมูลและระบบคาดการณ์ภัยพิบัติ และระบบเตือนภัย
  5. การเตรียมแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่
  6. การกำหนดพื้นที่รับน้ำ และมาตรการเยียวยา
  7. การพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ
  8. การสร้างความรู้ความเข้าใจ การยอมรับ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการอุทกภัยขนาดใหญ่