การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ประเทศไทย
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 80 หน้า
เนื้อหา : กิจกรรมการประชุมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่อง นโยบาย มาตราการกำกับดูแล และการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ไซต์, ประเด็นพิจารณาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและพื้นที่แรมซาร์ไซต์, การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำระหว่างประเทศ (Ramsar sites), การนำเสนอสถานการณ์การดำเนินงาน, การเสวนา ในหัวข้อ “แนวคิด-แนวปฏิบัติ ในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่แรมซาร์ไซต์ของประเทศไทย” และสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมเอกสารการบรรยาย
หลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคเหนือ
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 74 หน้า
หลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคเหนือ : บึงราชนก จังหวัดพิษณุโลก เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญของหลักสูตร แบ่งเป็น 2 กลุ่มสาระ คือ กลุ่มสาระที่ 1 : ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง และกลุ่มสาระที่ 2 : การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ซึ่งในหลักสูตรการเรียนรู้ยังประกอบไปด้วยสื่อประกอบการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ และอีกมากมาย
หลักสูตรการเรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 177 หน้า
หลักสูตรการเรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อ่างเก็บน้ำหนองบัว อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งมีเนื้อหาสาระประกอบไปด้วย 10 หน่วยการเรียนรู้ที่สำคัญ อาทิเช่น พื้นที่ชุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ประวัติพื้นที่ชุ่มน้ำหนองบัว และระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำหนองบัว เป็นต้น ซึ่งในหลักสูตรการเรียนรู้ยังประกอบไปด้วยใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบความรู้ แบบวัดความตระหนักรู้ และอีกมากมาย
แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองของภาคเหนือ
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 104 หน้า
แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองของภาคเหนือ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในบริบทเมืองหรือชานเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำกรอบแนวคิดมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีกรณีศึกษาพื้นที่นำร่องภาคเหนือ : “พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก”
แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 104 หน้า
แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในบริบทเมืองหรือชานเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำกรอบแนวคิดมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีกรณีศึกษาพื้นที่นำร่องภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : “พื้นที่ชุ่มน้ำอ่างเก็บน้ำหนองบัว”