พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands For Thai) กรมทรัพยากรน้ำ
กรมทรัพยากรน้ำ
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 80 หน้า
เนื้อหา : กิจกรรมการประชุมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่อง นโยบาย มาตราการกำกับดูแล และการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ไซต์, ประเด็นพิจารณาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและพื้นที่แรมซาร์ไซต์, การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำระหว่างประเทศ (Ramsar sites), การนำเสนอสถานการณ์การดำเนินงาน, การเสวนา ในหัวข้อ “แนวคิด-แนวปฏิบัติ ในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่แรมซาร์ไซต์ของประเทศไทย” และสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมเอกสารการบรรยาย
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 74 หน้า
หลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคเหนือ : บึงราชนก จังหวัดพิษณุโลก เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญของหลักสูตร แบ่งเป็น 2 กลุ่มสาระ คือ กลุ่มสาระที่ 1 : ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง และกลุ่มสาระที่ 2 : การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ซึ่งในหลักสูตรการเรียนรู้ยังประกอบไปด้วยสื่อประกอบการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ และอีกมากมาย
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 177 หน้า
หลักสูตรการเรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อ่างเก็บน้ำหนองบัว อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งมีเนื้อหาสาระประกอบไปด้วย 10 หน่วยการเรียนรู้ที่สำคัญ อาทิเช่น พื้นที่ชุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ประวัติพื้นที่ชุ่มน้ำหนองบัว และระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำหนองบัว เป็นต้น ซึ่งในหลักสูตรการเรียนรู้ยังประกอบไปด้วยใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบความรู้ แบบวัดความตระหนักรู้ และอีกมากมาย
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 104 หน้า
แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองของภาคเหนือ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในบริบทเมืองหรือชานเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำกรอบแนวคิดมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีกรณีศึกษาพื้นที่นำร่องภาคเหนือ : “พื้นที่ชุ่มน้ำบึงราชนก”
เผยแพร่ : พฤศจิกายน 2564
จำนวน : 104 หน้า
แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในบริบทเมืองหรือชานเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำกรอบแนวคิดมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีกรณีศึกษาพื้นที่นำร่องภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : “พื้นที่ชุ่มน้ำอ่างเก็บน้ำหนองบัว”
เผยแพร่ : สิงหาคม 2563
จำนวน : 36 หน้า
ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการอนุรักษ์ คุ้มครอง และใช้ประโยชน์ถิ่นอาศัยของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่ถูกคุกคาม เป็นข้อเสนอที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อพันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้า ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี ตลอดจนเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องเป็นไปตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี แผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ และแผนแม่บทบูรณาการการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๔
การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ในการยกร่าง เนื้อหาสาระ กำหนดประเด็นหลัก แนวทาง ตลอดจนกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ โดยผ่านการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมาโดยลำดับ
เผยแพร่ : มิถุนายน 2563
จำนวน : 215 หน้า
การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำแบบมีส่วนร่วม พัฒนาขึ้นจากแนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Environmental Management หรือ PEM) (Ramsar handbooks volume 7, 2010) ซึ่งได้รวบรวมความรู้จากหลายๆ แหล่งทั้งความรู้ทางวิชาการของนักวิชาการ และนักวิจัยต่างๆ และความรู้จากภูมิปัญญา ท้องถิ่นของชุมชน มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ชุมชนท้องถิ่น กลุ่มผู้ใช้ทรัพยากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ร่วมกันคิด พัฒนากลไก เพื่อแก้ไขและลดปัญหาของพื้นที่ชุ่มน้ำของตนเอง หรือเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยกำหนดนโยบาย หรือแผนงาน กิจกรรมหรือโครงการ เพื่อลดและแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเป็นธรรม และร่วมกันจัดการ ติดตาม ประเมินผล และปกป้อง ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรและพื้นที่ชุ่มน้ำในพื้นที่ของตนเองได้อย่างยั่งยืน