ทำไมสนามบินสุวรรณภูมิและพื้นที่โดยรอบที่เป็นที่ลุ่มต่ำ แต่ไม่ค่อยปรากฏเหตุการณ์น้ำท่วม ?

 

                                  "สะพานน้ำยกระดับ คลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ"

 
💠

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบและไม่เคยเห็นมาก่อน "สะพานน้ำยกระดับ" แห่งแรกและแห่งเดียวของไทย อันเนื่องมาจาก                โครงการพระราชดำริ ในหลวง ร.9

💠

สะพานน้ำยกระดับแห่งแรกและแห่งเดียวของไทย ที่ทำหน้าที่นำน้ำจากคลองลงสู่ทะเลโดยตรง โดยโครงการระบายน้ำบริเวณ        สนามบินสุวรรณภูมิ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มี "สะพานน้ำยกระดับ" ที่มีความยาวมากที่สุดแห่งแรกของประเทศ ถูกสร้างขึ้น    จากแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2546 ที่ได้พระราชทานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาพื้นที่
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อมีการขยายตัวของเมือง ทำให้พื้นที่รับน้ำลดลงและการระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยทำได้ยากขึ้น

💠
สะพานน้ำยกระดับนี้มีความยาวกว่า 10 กิโลเมตร ลักษณะคล้ายคลองระบายน้ำ ที่ถูกสร้างเป็นสะพานน้ำยกสูงจากถนนสุขุมวิท
ประมาณ 6 เมตร ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท ช่วยระบายน้ำจากคลองสำโรงได้สูงสุดถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที !!!
โดยมีเครื่องสูบระบายน้ำ 4 เครื่อง ผลักดันออกทะเล โดยเปิดใช้งานในช่วงปลายปี 2552 และในช่วงอุทกภัยปี 2554 โครงการนี้
ช่วยระบายน้ำได้มากถึง 560 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้แต่ช่วงที่น้ำทะเลหนุน !!! สามารถป้องกันสนามบินสุวรรณภูมิและพื้นที่โดยรอบ 140 ตารางกิโลเมตร จากความเสียหายได้สำเร็จและเด็ดขาด ไม่เกิดปัญหาน้ำไหลย้อนกลับเข้าสู่คลองระบายน้ำในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งอาจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชุมชนและประชาชนโดยรอบ ซึ่งในช่วงอุทกภัยปี 2554
 
โครงการนี้ถือว่าเป็นจุดหลักที่ช่วยระบายน้ำได้มากถึง 560 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่ากว่าครึ่งหนึ่งของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์!!!
💠
นอกจากนั้นแล้วในฤดูแล้งคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิยังเก็บกักน้ำได้ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อทำเกษตร และรักษาระบบนิเวศในพื้นที่
 
 
 
 

💠

 สะพานน้ำแห่งนี้ที่เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งได้สร้างประโยชน์มหาศาลให้แก่ประเทศ และยังคงได้รับ
 การสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการนี้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

 (CR - ภาพและข้อมูล กรมชลประทาน, Wachiraphan Chansomboon)