สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ และผลกระทบ
องค์ประกอบของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย การรับสัมผัสกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Exposure) และความอ่อนไหวต่อผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Sensitivity) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำยัง (Potential impacts) และผลกระทบดังกล่าว เมื่อผนวกกับความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptive capacity) จะได้ผลลัพธ์ของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Vulnerability) และสำหรับประชาชนในลุ่มน้ำยัง การรับสัมผัสกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Exposure) ประกอบด้วยปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ปริมาณน้ำฝน การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย สำหรับความอ่อนไหวต่อผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Sensitivity) ประกอบด้วยความยากจน รายได้ต่อครัวเรือน และความหนาแน่นประชากร ซึ่งเมื่อผนวกกันจะพบว่าประชาชนในลุ่มน้ำยังตอนล่างได้รับผลกระทบสูงสุด ทั้งในด้าน exposure และ sensitivity และเมื่อพิจารณาความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Adaptive capacity) ของประชาชนในลุ่มน้ำยัง ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการสร้างผลผลิตทางการเกษตร (crop yields) การเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (water access) การเข้าถึงตลาด (market access) และการเข้าถึงบริการสาธารณสุข (health services access) พบว่า ขีดความสามารถในการปรับตัวของประชาชนในลุ่มน้ำยังมีไม่เพียงพอต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางสูง และจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการการปรับตัวภายใต้โครงการ EbA

การตกลงระหว่าง UNEP – DWR
ในปี พ.ศ. 2566 กรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดทำโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาศัยระบบนิเวศ ในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 1 ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ กับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) เพื่อดำเนินงานโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง (โครงการ Mekong EbA South) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุน เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation Fund: AF) โดยมี UNEP เป็นหน่วยดำเนินโครงการ (Implementing Entity) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำรูปแบบวิธีการปฏิบัติ สาธิตการใช้แนวทางการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Ecosystem-based Adaptation: EbA) ในชุมชนเปราะบางในประเทศไทยเพื่อจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะภัยแล้งและอุทกภัย เสริมสร้างความตระหนักรู้ การมีส่วนร่วม และเพิ่มพูนศักยภาพในการ



