1.กรมทรัพยากรน้ำและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ อำนาจและภารกิจที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ อย่างไร
1.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการอนุญาต รวมทั้งการขอและการออกใบแทนการอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม พ.ศ. .... (มาตรา 45)
2.กรมทรัพยากรน้ำ ออกใบอนุญาตใช้น้ำ การขอต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตและการอนุญาต รวมทั้งการขอและการออกใบแทนใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด (มาตรา 43 และ 44)
3.กรมทรัพยากรน้ำ ออกประกาศกรมทรัพยากรน้ำ เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาตการใช้น้ำและแผนการบริหารจัดการน้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทที่สองและการใช้น้ำประเภทที่สาม พ.ศ. ... (มาตรา 47)
4.กรมทรัพยากรน้ำ ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม พ.ศ. .... (มาตรา 50) และเรียกเก็บค่าใช้น้ำจากการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม
5.กรมทรัพยากรน้ำ ออกประกาศกรมทรัพยากรน้ำ พ.ศ.... เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตั้งเครื่องมือวัดหรือปริมาณน้ำที่ใช้และการเก็บข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการตรวจสอบและควบคุมการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะของผู้รับใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม (มาตรา 51)
6.กรมทรัพยากรน้ำ จัดทำข้อมูลการใช้น้ำประเภทที่หนึ่งที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ของกรมทรัพยากรน้ำและจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อ สทนช. (มาตรา 42)
7.กรมทรัพยากรน้ำ มีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะของผู้รับใบอนุญาตการ ใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม
8.กรมทรัพยากรน้ำ เรียกเก็บค่าใช้น้ำตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามมาตรา 49 อำนาจนายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกำหนด 1)หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม และ 2)หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การเรียกเก็บ ลดหย่อน หรือยกเว้นค่าใช้น้ำ
2.กิจกรรมการใช้น้ำแต่ละประเภทตามพระราชบัญญัติฯ รวมถึงการใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตการใช้น้ำ และไม่เสียค่าใช้น้ำ มีการกำหนดลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำ หรือไม่ อย่างไร
กฎกระทรวง กำหนดลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำ พ.ศ.... อยู่ในหน้าที่ อำนาจของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย สทนช.ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษา“โครงการจัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการคิดค่าน้ำและจัดทำกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วย ทรัพยากรน้ำ (หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ)” ในปี พ.ศ.2563 แล้วเสร็จ ปัจจุบันอยู่ระหว่าง ขั้นตอน กระบวนการพิจารณาทบทวนก่อนนำเสนอเข้ากระบวนการตรากฎหมาย
3.ผู้ที่เข้าลักษณะต้องขออนุญาตใช้น้ำ ประเภทที่สองและประเภทที่สามจะต้องเข้าสู่กระบวนการขออนุญาตใช้น้ำประมาณเมื่อไร
ต้องยื่นขออนุญาตใช้น้ำเมื่อมีการออกกฎหมาย (กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการอนุญาต รวมทั้งการขอและการออกใบแทนการอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม พ.ศ....) โดยในปี พ.ศ.2564 กรมทรัพยากรน้ำ อยู่ดำเนินงานจัดทำร่างอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่ อำนาจและภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำและกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การศึกษา “โครงการศึกษาและยกร่างอนุบัญญัติที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ... ในส่วนที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำ (หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ)” แล้วเสร็จ ซึ่งในกระบวนการศึกษาจะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างอนุบัญญัติฯ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอน กระบวนการพิจาณาของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่การตรากฎหมายต่อไป
4.ผู้ที่เข้าลักษณะต้องขออนุญาตใช้น้ำ ประเภทที่สองและประเภทที่สาม จะทราบได้อย่างไรว่าต้องเข้าสู่กระบวนการขออนุญาตใช้น้ำตามกฎหมาย
กรมทรัพยากรน้ำจะทำการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริมการยื่นขออนุญาตใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ พร้อมมีหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ผู้เข้าลักษณะต้องขออนุญาตใช้น้ำประเภทที่สองหรือประเภทที่สามในพื้นที่ทราบว่า จะต้องขออนุญาตใช้น้ำตามกฎหมาย ทั้งนี้กรมฯ จำเป็นต้องประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการขออนุญาตฯ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับทราบ
5.กระบวนการอนุญาตใช้น้ำสำหรับการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะประเภทที่สองและประเภทที่สามมีแนวทางการดำเนินงานอย่างไร
ผู้ประสงค์รับใบอนุญาตใช้น้ำ ยื่นคำขอตามประกาศกรมทรัพยากรน้ำ พร้อมเอกสารหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วน กรมทรัพยากรน้ำจะพิจารณาตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อครบถ้วนถูกต้องจะพิจาณาเสนอคณะกรรมการลุ่มน้ำ(การใช้น้ำประเภทที่สอง) /คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(การใช้น้ำประเภทที่สาม) แล้วแต่กรณีให้ความเห็นชอบ แล้วจึงเสนออธิบดีกรมทรัพยากรน้ำพิจารณาออกใบอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการอนุญาต/แจ้งชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำชำระค่าธรรมเนียมและรับใบอนุญาต พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไข
6.ผู้ใช้น้ำเดิมที่เข้าลักษณะต้องขออนุญาตใช้น้ำ ประเภทที่สองและประเภทที่สาม ต้องทำอย่างไรเมื่อพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ เริ่มบังคับใช้ตามกฎหมาย
มาตรา 104 กำหนดไว้ว่า เมื่อกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองหรือการใช้น้ำประเภทที่สามตามมาตรา 45 ใช้บังคับแล้วให้ผู้ใช้น้ำอยู่เดิมยื่นคำขอรับใบอนุญาตการใช้น้ำตาม พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้
7.ผู้ประกอบการที่ดำเนินการธุรกิจมาขอใช้น้ำแต่ไม่มากต้องเก็บค่าใช้น้ำหรือไม่
การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะใช้น้ำมากหรือน้อย ถ้าหากการประกอบธุรกิจดังกล่าวเข้าลักษณะตามที่กำหนดหรือรายละเอียดการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สามที่กฎกระทรวงกําหนด ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตใช้น้ำและเสียค่าใช้น้ำ ตามที่กฎหมายกำหนด
8.การวัดปริมาณน้ำที่อนุญาตหรือขอใช้ ใช้อุปกรณ์อะไร (กรณีไม่มีมาตรวัดน้ำ)
ผู้รับใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สามต้องติดตั้งเครื่องมือวัดน้ำ เพื่อประเมินปริมาณน้ำที่ใช้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ หรืออธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล แล้วแต่กรณี กำหนดตามประกาศกรมทรัพยากรน้ำ
9.กรณีผู้ขออนุญาตใช้น้ำระบุวัตถุประสงค์ใช้น้ำในการเกษตรกรรมแต่นําน้ำไปใช้ในกิจกรรมประเภทอื่น เช่น อุตสาหกรรม กิจการประปาได้หรือไม่
ในกรณีนี้ถือว่าผู้ขออนุญาตใช้น้ำได้กระทำผิดเงื่อนไขการขออนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งพักการใช้ใบอนุญาต และผู้ขออนุญาตต้องทำการแก้ไขหรือดำเนินการขอใช้น้ำใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ (มาตรา 53)
10.การใช้น้ำประเภทที่สองและประเภทที่สาม หากไม่ได้ขออนุญาตตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษทางกฎหมายอย่างไร
ตามมาตรา 89 ระบุ หากผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (การใช้น้ำประเภทที่สองต้องได้รับใบอนุญาตฯ) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และตามมาตรา 90 ระบุ หากผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 44 (การใช้น้ำประเภทที่สามต้องได้รับใบอนุญาตฯ) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประปา มีอะไรบ้าง
1.การขอรับสัมปทาน - 2,000 บาท,
2.การขอขยายเขตสัมปทาน - 1,000 บาท,
3.การขอต่ออายุสัมปทาน - 2,000 บาท,
4.การขอโอนสัมปทาน - 1,000 บาท,
5.การขอปรับอัตราค่าน้ำ/ค่ารักษามาตรวัดน้ำ - ไม่เสียค่าธรรมเนียม,
6.การขอยกเลิกสัมปทาน - ไม่เสียค่าธรรมเนียม,
7.การขอจำหน่ายน้ำ - ไม่เสียค่าธรรมเนียม,
8.ค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานผู้ตรวจการ - เสียเป็นอัตราตายตัว ในอัตรา 5 บาท ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรของปริมาณน้ำที่ทำได้เต็มกำลังใน 1 ชั่วโมง แต่เงินจำนวนนี้จะต้องชำระไม่น้อยกว่า 50 บาท ต่อหนึ่งปี
2.การขอรับสัมปทานประกอบกิจการประปา สามารถยื่นได้ที่ไหน
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะยื่นขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา ทั้ง 8 กิจกรรม สามารถดำเนินการได้โดยยื่นคำขอพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน โดย
1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นที่กรมทรัพยากรน้ำตั้งอยู่ที่ 180/3 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 34 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
2) ในเขตต่างจังหวัด ยื่นที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนั้น ๆ
3.เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับสัมปทานประกอบกิจการประปา มีอะไรบ้าง
เอกสารการขอรับสัมปทาน ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา เพื่อความปลอดภัยหรือผาสุขของประชาชน พ.ศ. 2554
1.ระบบประปาขนาดเล็ก ให้ยื่นเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
1.1 แบบคำขอเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา (แบบ สป.1) ให้ยื่นต้นฉบับจำนวน 1 ชุด และสำเนาจำนวน 2 ชุด
1.2 ในกรณีเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจ้ากัด ให้จัดส่งสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งออกไว้ไม่เกิน 6 เดือน นับถึงวันที่ยื่นเรื่องขอดำเนินการ และจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประปา จำนวน 3 ชุด
1.3 ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ต้นฉบับจำนวน 1 ชุด และสำเนา จำนวน 2 ชุด พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ จ้านวน 3 ชุด
1.4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับสัมปทาน จำนวน 3 ชุด
1.5 ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา (แบบ สป.2) ให้ยื่นต้นฉบับจำนวน 1 ชุด และสำเนาจำนวน 2 ชุด
1.6 แผนที่สังเขป จำนวน 7 ชุด
1.7 แผนผังประกอบกิจการประปา จำนวน 7 ชุด
1.8 ผังบริเวณการประปา จำนวน 3 ชุด
1.9 ผังแนวท่อจ่ายน้ำประปา จำนวน 7 ชุด
1.10 แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนอาคารผลิตน้ำประปา จำนวน 3 ชุด
1.11 รายละเอียดกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการผลิต และวิธีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำดิบให้ได้มาตรฐานคุณภาพน้ำประปา จำนวน 3 ชุด
1.12 รายละเอียดการคำนวณออกแบบระบบประปา ประกอบด้วย รายการคำนวณความต้องการใช้น้ำ ระบบสูบน้ำ ระบบผลิตน้ำ และระบบท่อจ่ายน้ำ พร้อมหนังสือรับรองและสำเนาใบประกอบวิชาชีพของวิศวกรผู้ทำรายการคำนวณ จำนวน 3 ชุด
1.13 ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา ให้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ให้ครบทุกพารามิเตอร์ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปา และจะต้องตรวจวิเคราะห์โดยหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ โดยผู้ขอรับสัมปทานเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด จำนวน ๓ ชุด
1.14 เอกสารหลักฐานแสดงการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อทำการก่อสร้างระบบประปา (กรณีที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่น) จำนวน 3 ชุด
1.15 สำเนาโฉนดที่ดินหรือหนังสืออนุญาตจากผู้มีอำนาจในพื้นที่ที่ขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทาน จำนวน 3 ชุด
1.16 รายงานการวิเคราะห์อัตราค่าน้ำประปา รายงานการวิเคราะห์ค่ารักษามาตรวัดน้ำ จำนวน 3 ชุด
1.17 หนังสือแจ้งแผนการขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 ชุด
1.18 เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ จำนวน 3 ชุด เช่น 1) สำเนาใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (กรณีใช้น้ำบาดาล) 2) สำเนาใบอนุญาตใช้น้ำผิวดิน (กรณีใช้น้ำผิวดินและแหล่งน้ำนั้นเป็นของบุคคลอื่น) 3) แบบรูปตัดขวางของลำน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ แบบแปลนแสดงพื้นที่ของอ่างเก็บน้ำหรือสระเก็บน้ำ ระดับน้ำปกติ ระดับน้ำสูงสุด ระดับน้ำต่ำสุด และรายการคำนวณปริมาณน้ำดิบของวิศวกรเพื่อยืนยันความเพียงพอของแหล่งน้ำดิบ (กรณีใช้น้ำผิวดินเป็นแหล่งน้ำดิบ) 4) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
2.ระบบประปาขนาดใหญ่ ให้ยื่นเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
2.1. เอกสารหลักฐานตามข้อ 1.1 - 1.18
2.2 แผนธุรกิจการประกอบกิจการประปาของผู้ขอรับสัมปทาน
2.3 เอกสารหลักฐานอื่น ๆ เช่น สัญญาให้สิทธิเช่าบริหารและดำเนินกิจการเกี่ยวกับระบบประปาหรือสัญญาผลิตน้ำประปา (ในกรณีผู้ขอรับสัมปทานผลิตและหรือจำหน่ายน้ำประปาให้กับหน่วยงานของรัฐ)
1.มาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน ประกอบด้วยอะไรบ้าง
มาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน ประกอบด้วย
1.มาตรฐานด้านแหล่งน้ำดิบ
มาตรฐานด้านแหล่งน้ำดิบ ประกอบด้วย ด้านปริมาณน้ำ และคุณภาพน้ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ปริมาณน้ำดิบจะต้องเพียงพอที่จะนำมาผลิตน้ำประปาได้ตลอดทั้งปี หมายถึง แหล่งน้ำที่ใช้เป็นแหล่งน้ำหลักในการผลิตน้ำประปา จะต้องมีปริมาณมากเพียงพอในการสูบเข้าระบบประปา ตามความต้องการน้ำของอัตราการผลิตของระบบประปา ตลอดจน จะต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอ หรือสามารถสูบน้ำเข้าระบบผลิตประปาในปริมาณที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
1.2 คุณภาพน้ำดิบ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1) แหล่งน้ำผิวดิน จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 1 – 4 ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 หรืออย่างน้อยคุณภาพน้ำดิบเบื้องต้นทางด้านกายภาพ มีความเหมาะสมที่จะนำไปผลิตเป็นน้ำประปาได้
2) แหล่งน้ำบาดาล จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำบาดาลที่จะใช้บริโภคได้ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการสำหรับการป้องกันด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ.2551 (ซึ่งโดยปกติเมื่อมีการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลก่อนที่จะนำมาใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับผลิตประปา จะต้องมีการส่งตัวอย่างน้ำ เพื่อวิเคราะห์ฯ ก่อน)
2.มาตรฐานด้านระบบประปา
มาตรฐานด้านระบบประปา ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ของระบบประปา ได้แก่ ระบบน้ำดิบ ระบบผลิต และระบบจ่ายน้ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 ระบบน้ำดิบ เครื่องสูบน้ำดิบและอุปกรณ์ / ท่อส่งน้ำดิบ / โรงสูบน้ำดิบ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งจะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง พร้อมใช้งาน มีองค์ประกอบครบถ้วน
2.2 ระบบผลิตน้ำประปา ระบบประปาจะต้องมีขนาดกำลังการผลิตเพียงพอกับความต้องการใช้น้ำของชุมชน และรองรับปริมาณการใช้น้ำสูงสุดต่อวันได้ / ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (หากเป็นระบบประปาแบบบาดาลก็จะประกอบด้วยถังกรองน้ำ ทรายกรองน้ำ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ส่วนระบบประปาแบบผิวดิน จะประกอบด้วย ถังสร้างตะกอน รวมตะกอน ตกตะกอน และทรายกรอง และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ) / ถังน้ำใสและอุปกรณ์ต่างๆ / ระบบจ่ายสารเคมีเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเพื่อฆ่าเชื้อโรค ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง พร้อมใช้งาน มีองค์ประกอบครบถ้วน
2.3 ระบบจ่ายน้ำประปา เครื่องสูบน้ำดีและอุปกรณ์ / หอถังสูงหรือบางแห่งใช้ระบบถังอัดความดัน และอุปกรณ์ประกอบ / มาตรวัดน้ำ / ท่อเมนจ่ายน้ำ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรงพร้อมใช้งาน มีองค์ประกอบครบถ้วน
3.มาตรฐานด้านการควบคุมการผลิตและบำรุงรักษาระบบประปา
มาตรฐานด้านการควบคุมการผลิตและบำรุงรักษาระบบประปา ประกอบด้วย คุณสมบัติผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานในหน้าที่การควบคุมการผลิต และการบำรุงรักษาระบบประปา จะต้องมีการดำเนินการให้ได้มาตรฐาน ดังนี้
3.1 ผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการผลิตน้ำประปา เนื่องจากในการผลิตน้ำประปาจำเป็นต้องมีผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปาที่มีความรู้ ความสามารถ เรื่องระบบประปา ตั้งแต่การพิจารณาการเตรียมน้ำดิบ เพื่อจะนำเข้าสู่ระบบผลิตและปรับปรุงคุณภาพได้อย่างเหมาะสม การดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอน ของการผลิตน้ำประปาให้ได้ตามมาตรฐาน
3.2 ผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปา จะต้องมีการดูแล และบำรุงรักษาระบบประปา ตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อให้มีการดูแลควบคุมการผลิตน้ำประปาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ได้น้ำประปาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยต้นทุนที่ต่ำ และมีการบำรุงรักษาระบบประปาอย่างถูกต้อง ผู้ควบคุมการผลิตจะต้องมีความสนใจเอาใจใส่ ในการบำรุงรักษาระบบประปาทุกองค์ประกอบ ตามระยะเวลาที่กำหนด และวิธีการที่ถูกต้อง โดยปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
3.3 การซ่อมแซม/เปลี่ยน ท่อ อุปกรณ์ และระบบควบคุม จะต้องสามารถดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนผู้ใช้น้ำ ให้น้อยที่สุด
3.4 จะต้องมีการควบคุมปริมาณน้ำสูญเสียให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากมีความสำคัญที่อาจจะส่งผลกระทบกับความมั่นคงของการบริหารจัดการระบบประปาให้ยั่งยืน ผู้ควบคุมการผลิตจะต้องมีการสอดส่องดูแล การรั่วไหลของน้ำ ทั้งที่ระบบผลิตน้ำ และตามตลอดแนวเส้นท่อที่จ่ายน้ำ ไม่มีจุดรั่วซึมของน้ำ ตลอดจนไม่ให้มีการใช้น้ำฟรี ซึ่งการสูญเสียน้ำเหล่านี้ เป็นการเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ได้รายรับ ซึ่งอาจจะทำให้ระบบประปาประสบปัญหาการขาดทุน และอาจส่งผลกระทบต่อรายรับที่จะนำมาใช้ในการบำรุงรักษาระบบประปาได้
4.มาตรฐานด้านปริมาณ แรงดันน้ำ และคุณภาพน้ำประปา
มาตรฐานด้านปริมาณ แรงดันน้ำ และคุณภาพน้ำประปา มีดังนี้
4.1 ปริมาณน้ำประปาที่ผลิตได้ จะต้องเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำ แรงดันของน้ำจะต้องมีความแรงเพียงพอและสม่ำเสมอ จ่ายน้ำให้ผู้ใช้น้ำได้อย่างต่อเนื่อง
4.2 คุณภาพน้ำประปาที่ผลิตได้ จะต้องได้เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ พ.ศ.2553 ของกรมอนามัย ก่อนที่จะจ่ายน้ำ ประปาให้บริการแก่ประชาชน ต้องมีกระบวนการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ โดยการเติมคลอรีน และตรวจสอบคลอรีนหลงเหลือ โดยต้องมีปริมาณคลอรีนหลงเหลือระหว่าง 0.2-0.5 มก./ล. มีการเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ และส่งตัวอย่างน้ำประปาที่ผลิตได้เข้าวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ พ.ศ.2553 ของกรมอนามัย
5.มาตรฐานด้านการบริหารกิจการระบบประปา
มาตรฐานด้านการบริหารกิจการระบบประปา มีดังนี้
5.1 การกำหนดอัตราค่าน้ำประปา จะต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตและความสามารถในการจ่ายค่าน้ำประปาของผู้ใช้น้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้น้ำสามารถใช้น้ำได้ในราคาที่เหมาะสม และตอบสนองยุทธศาสตร์กรมทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 น้ำอุปโภคบริโภค ได้กำหนดเป้าหมายว่า ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเพียงพอและราคาที่เป็นธรรม และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ข้อ 6.1 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่เหมาะสม ภายในปี 2573
5.2 มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่สามารถเปิดเผย และตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้น้ำ มีความมั่นใจในการบริหารกิจการระบบประปา ว่าสามารถบริหารกิจการระบบประปาให้มีความยั่งยืน มีรายรับ-รายจ่าย ที่เหมาะสม และมีการจัดการรายได้ในการบริหารกิจการระบบประปาให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และโปร่งใส
5.3 ผู้บริหารกิจการระบบประปา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารกิจการประปา เนื่องจากดูแลบริหารกิจการระบบประปาจำเป็นต้องมีผู้บริหาร และทีมงานที่มีความรู้ ความสามารถ เรื่องระบบประปาพอสมควร ตั้งแต่การพิจารณาแนวทางการจัดการเรื่องการบำรุงรักษาระบบผลิตประปาให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง การเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการซ่อมบำรุงรักษาระบบผลิตประปา การจัดการเรื่องรายรับ-รายจ่ายต่างๆ ให้มีความสมดุล รวมทั้งการจัดการในเรื่องของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของระบบประปา เพื่อที่จะสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานให้อย่างเอาใจใส่ และเต็มความสามารถได้ตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการระบบประปาได้อย่างยั่งยืน
5.4 มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กิจการระบบประปา กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับนี้ จะเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการระบบประปา ของผู้บริหารกิจการ และประชาชนผู้ใช้น้ำ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
5.5 มีการประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินการและข่าวสารต่างๆ ให้สมาชิกผู้ใช้น้ำทราบความ ก้าวหน้า เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้น้ำ มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการบริหารกิจการระบบประปา และทราบข้อมูลต่างๆ ของกิจการระบบประปาอย่างต่อเนื่อง ว่ามีการดำเนินอะไร มีเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นใครบ้าง เนื่องจากประชาชนจะได้รับรู้ว่าจะต้องประสานหากเกิดปัญหาต่างๆ กับใคร หรือผู้ใดจะเป็นผู้มาเก็บค่าใช้น้ำ ฯลฯ
2.เกณฑ์การประเมินคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน มีองค์ประกอบที่จะพิจารณา 5 ด้าน ดังนี้
1.ด้านแหล่งน้ำดิบ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.1 ปริมาณน้ำดิบจะต้องเพียงพอที่จะนำมาผลิตน้ำประปาได้ตลอดทั้งปี
1.2 คุณภาพน้ำดิบ จะต้องได้มาตรฐาน ดังนี้
1) แหล่งน้ำผิวดิน จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 1-4 ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 หรืออย่างน้อยคุณภาพน้ำดิบเบื้องต้นทางด้านกายภาพมีความเหมาะสมที่จะนำไปผลิตเป็นน้ำประปาได้
2) แหล่งน้ำบาดาล จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำบาดาลที่จะใช้บริโภคได้ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการสำหรับการป้องกันด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ.2551
2.ด้านระบบประปา มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
2.1. ระบบน้ำดิบ จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง พร้อมใช้งาน มีองค์ประกอบครบถ้วน
2.2 ระบบผลิตน้ำประปา จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง พร้อมใช้งาน มีองค์ประกอบครบถ้วน
2.3 ระบบจ่ายน้ำประปา จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง พร้อมใช้งาน มีองค์ประกอบครบถ้วน
3.ด้านการควบคุมการผลิตและบำรุงรักษาระบบประปา มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
3.1 ผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการผลิตน้ำประปา
3.2 ผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปา จะต้องมีการดูแล และบำรุงรักษาระบบประปา ตามหลักวิชาการ
3.3 การซ่อมแซม/เปลี่ยน ท่อ อุปกรณ์ และระบบควบคุม จะต้องสามารถดำเนินการอย่างรวดเร็ว
3.4 จะต้องมีการควบคุมปริมาณน้ำสูญเสียให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
4.ด้านปริมาณน้ำ แรงดันน้ำ และคุณภาพน้ำประปา มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
4.1 ปริมาณน้ำประปาที่ผลิตได้ จะต้องเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำ
4.2 คุณภาพน้ำประปาที่ผลิตได้ จะต้องได้เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ พ.ศ.2553 ของกรมอนามัย
5.ด้านการบริหารกิจการระบบประปา มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
5.1 การกำหนดอัตราค่าน้ำประปา จะต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตและความสามารถในการจ่ายค่าน้ำประปาของผู้ใช้น้ำ
5.2 มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่สามารถเปิดเผย และตรวจสอบได้
5.3 ผู้บริหารกิจการระบบประปา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารกิจการประปา
5.4 มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กิจการระบบประปา กำหนดไว้อย่างชัดเจน
5.5 มีการประชาสัมพันธ์ ผลการดำเนินการและข่าวสารต่างๆ ให้สมาชิกผู้ใช้น้ำทราบความก้าวหน้า