24 th IHP Regional Steering Committee Meeting

 


             ประเทศไทยเป็นสมาชิกโครงการอุทกวิทยาระดับนานาชาติของยูเนสโก (International Hydrological Programme: IHP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 เริ่มจากกิจกรรมตามโครงการวิจัยว่าด้วยทศวรรษแห่งการพัฒนาอุทกวิทยาระดับนานาชาติ (International Hydrological Decade: IHD) ระหว่าง พ.ศ. 2507-2517 โดยในปี พ.ศ. 2518 โครงการ IHD ได้พัฒนาเป็น “โครงการอุทกวิทยาระดับนานาชาติ” ถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาร่วมดำเนินการนานกว่า 50 ปี โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านอุทกวิทยาภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยโครงการอุทกวิทยาระดับนานาชาติยูเนสโก (Thailand National Committee for IHP) มีอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำทำหน้าที่เป็นประธานดำเนินงานด้านสนับสนุนนโยบาย ส่งเสริมงานวิจัย การจัดทำแผนและการเผยแพร่ข้อมูลด้านอุทกวิทยา โดยได้อาศัยแนวทางจากโปรแกรมอุทกวิทยาระดับนานาชาติของยูเนสโกมาใช้ประโยชน์

           ภายใต้กรอบโครงการต่างๆของยูเนสโกจะมีการประชุมคณะกรรมการสภาระหว่างรัฐบาลของโครงการต่างๆเป็นประจำ โดยคณะกรรมการสภาระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงการอุทกวิทยา ระดับนานาชาติของยูเนสโก (IHP Intergovernmental Council) จะจัดการประชุมขึ้นทุก 2 ปี ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศลโดยมีประเทศสมาชิกที่ได้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการสภาระหว่างรัฐบาลรวม 36 ประเทศ

           การจัดงานประชุม IHP-RSC FOR SEAP ครั้งที่ 24 จัดขึ้น ณ โรงแรม Kempinski hotel ณ เมืองอูลานบาเตอร์ ประเทศมองโกเลีย วันที่ 24 – 26 ตุลาคม 2559 ประกอบด้วยการประชุม 2 รูปแบบ คือ “การประชุมวิชาการและนำเสนอรายงานของแต่ละประเทศ” และการเสวนาแห่งชาติว่าด้วยเรื่องน้ำนานาชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6

สรุปผลการประชุมและสรุปการร่วมเสวนาในสาระสำคัญ ดังนี้

          (1) การประชุมวิชาการและนำเสนอรายงานของแต่ละประเทศเพื่อติดตามผลการดำเนินงานและความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับน้ำในระหว่างประเทศสมาชิก ภายใต้โครงการอุทกวิทยานานาชาติของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการสนับสนุนจากกองทุนยี่ปุ่น (Japanese Funds-Trust) มีผู้เข้าร่วมประชุมรวม 46 คน

          (2) การเสวนาเรื่องน้ำแห่งชาติว่าด้วยเรื่องน้ำนานาชาติ เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 ในประเทศมองโกเลีย และมุ่งขยายสู่ภูมิภาคเอเชียและแปปซิฟิก


 เอกสารดาวโหลด